การปรับขึ้นค่าแรงของกรรมการบอร์ดค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศตัวเลขออกมาวันนี้ ตามที่ทุกท่านทราบ คงเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับภาคส่วนของลูกจ้าง และคงจะผ่าน มติ ครม.ตามกำหนดที่จะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 63 “ เรา ” ในฐานะ “ HR ” ที่เป็นทั้งลูกจ้างและตัวแทนนายจ้างคงต้องใช้ตัวเลขนี้ในการวางแผนงบประมาณปี 63 ด้านกำลังคนขององค์กรอย่างรอบคอบและรัดกุม เพื่อให้ฝ่ายบริหารมองเห็นต้นทุนการบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ในปีหน้าว่าปรับสูงขึ้นมามากน้อยเพียงใด เพราะการปรับขึ้นของต้นทุนด้านแรงงาน คือตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อผลกำไร ขาดทุน การปรับขึ้นค่าจ้างไม่ใช่เรื่องยาก และกลไกทางกฎหมายไม่ซับซ้อนเท่ากับ “การเลิกจ้าง ” เมื่อบริษัทไม่สามารถแบกรับต้นทุนทางด้านแรงงานที่สูงขึ้นได้ บริษัทอาจจะมีการปรับลดอัตรากำลังคน บางแผนก บางตำแหน่ง หรือ ร้ายแรงสุดถึงขั้นปิดโรงงาน ความยุ่งยากและซับซ้อนของรายละเอียด รวมถึงปัญหาในการบริหารจัดการ จะยุ่งยากกว่าแน่นอนเพราะมี พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เป็นตัวกำกับและควบคุมนายจ้างอยู่ โดยเฉพาะเมื่อเลิกจ้าง สิ่งที่จะตามมาคือ ค่าจ้าง ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พวก “ เรา ” ในฐานะ HR คงต้องเตรียมแผนหลัก หรือแผนสำรอง เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีที่ บริษัทต้องลดกำลังคน หรือปิดกิจการ เอาไว้ด้วย จะได้ทางออกที่ไม่ขัดกับหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
อีคอนไทย….ขอเป็นกำลังใจให้นายจ้างทุกท่าน มีกำลังใจและรวมพลังกัน จับมือกัน ก้าวผ่านสถานการณ์เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ไปด้วยกันครับ สู้ สู้ ครับ อย่าลืม เมื่อท่านมีปัญหาด้านแรงงาน นึกถึง…อีคอนไทย..เราพร้อมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือท่านทุกที่ ทุกเวลา
บทความโดย นายณภัทร วจีอรรถยุต / สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย
ภาพข่าว โดย PPTV